มิเตอร์ การต่อมิเตอร์

มิเตอร์ การต่อมิเตอร์

มิเตอร์และการต่อมิเตอร์

ในหัวข้อ มิเตอร์ การต่อมิเตอร์ จะพูดถึงชนิดต่างๆ ของมิเตอร์ไฟฟ้า ที่เป็นพื้นฐานของอุปกรณ์ ซึ่งในความเป็นจริงมีอุปกรณ์ อีกมากมาย มากกว่านี้ซึ่งมีความสามารถสูงในการวัด แต่ในบทนี้จะกล่าวเพียงอุปกรณ์พื้นฐานที่จะต้องเรียนเท่านั้น มิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมาก เพราะว่าเราไม่สามารถเห็นไฟฟ้าได้ มิเตอร์จะเป็นตัวบอกถึงค่าและปริมาณของไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เพื่อให้เราสามารถทราบและตรวจสอบความผิดปกติของไฟฟ้าได้

แกลวานอมิเตอร์ (Galvanometer)

มิเตอร์วัดกระแสที่ผ่านขดลวดแล้วทำหน้าที่ให้แม่เหล็กหมุนตามหน้าปัดสเกล (สามารถประยุกต์เป็นมิเตอร์อื่นๆได้)

แอมมิเตอร์ (Ammeter)

มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าที่ประยุกต์มาจากแกลวานอมิเตอร์ต่ออนุกรมกับวงจร

โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)

มิเตอร์วัดความต่างศักย์ในวงจรไฟฟ้าที่ประยุกต์มาจากแกลวานอมิเตอร์ต่อขนานกับวงจร

โอห์มมิเตอร์ (Ohmmeter)

มิเตอร์วัดความต้านทานไฟฟ้าที่ประยุกต์มาจากแกลวานอมิเตอร์ต่อขนานกับวงจร

ตัวอย่างที่ 1  แกลวานอมิเตอร์เครื่องหนึ่งมีความต้านทาน 0.50 โอห์ม และกระแสไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 50 มิลลิแอมแปร์ จะต้องทำอย่างไร เมื่อต้องการสร้างเป็นแอมมิเตอร์ ที่วัดกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 1 แอมแปร์

ตัวอย่างที่ 2 แกลวานอมิเตอร์เครื่องหนึ่งมีความต้านทาน 0.50 โอห์ม และกระแสไฟฟ้า      สูงสุดเท่ากับ 50 มิลลิแอมแปร์ จะต้องทำอย่างไร เมื่อต้องการสร้างเป็นโวลต์มิเตอร์ที่วัดความต่างศักย์ได้สูงสุด 100 โวลต์

ตัวอย่างที่ 3 แอมมิเตอร์เครื่องหนึ่งวัดกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 50 มิลลิแอมแปร์ ถ้าต้องการใช้วัดกระแสไฟฟ้าสูงสุด 100 มิลลิแอมแปร์ จะต้องทำอย่างไร

ตัวอย่างที่ 4 โวลต์มิเตอร์เครื่องหนึ่งมีความต้านทาน 10000 โอห์ม ใช้วัดความต่างศักย์ได้สูงสุด100 โวลต์ ถ้าต้องการใช้วัดความต่างศักย์ได้สูงสุด 500 โวลต์ จะต้องทำอย่างไร