งานและพลังงาน

งานและพลังงาน

งานและพลังงาน

ในหัวข้อ งานและพลังงาน และโมเมนตัม เป็นหัวข้อสุดฮิตในการออกข้อสอบ ทั้งข้อสอบภายในโรงเรียนหรือข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย Pat1 เพราะเป็นหัวข้อที่มีการประยุกใช้อย่าแพร่หลายซึ่งเป็นหัวข้อที่ถ้าจับหัวใจสำคัญของมันได้ งานและพลังงานจะเป็นหัวข้อที่แจกคะแนนกันเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นตั้งใจทำความเข้าใจดีๆนะครับ

งาน (work)

งาน (work) คือ  ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ งานเป็นปริมาณที่สามารถคำนวณได้จากความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้

งาน  =   แรง (นิวตัน) x  ระยะทาง (เมตร)

เมื่อ     W  คือ  งาน  มีหน่วยเป็นจูล ( J ) หรือนิวตันเมตร (N-m)
F   คือ  แรงที่กระทำ  มีนหน่วยเป็นนิวตัน ( N )
s   คือ  ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวราบ  มีหน่วยเป็นเมตร ( m )

จะได้สูตรคำนวณหางาน คือ     w  =  f x s cosθ

กำลัง

กำลัง คือ งานที่ทำได้ต่อเวลาที่ใช้ไป

กำลัง    = งาน(J)/เวลา(s)  = แรง(N) x ความเร็ว(m/s)

P  คือ กำลัง มีหน่วยเป็น วัตร์(Watt) หรือ (J/s) หรือ( N-m/s)
W  คือ  งาน  มีหน่วยเป็นจูล ( J ) หรือนิวตันเมตร (N-m)
t คือ เวลา มีหน่วยเป็นวินาที (s)
v คือ ความเร็ว มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s)

จะได้สูตร P=  W/t  = F x v

พลังงาน ( energy )

พลังงาน (energy) คือ  ความสามารถในการทำงานได้ของวัตถุหรือสสารต่าง ๆ   พลังงานสามารถทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้  เช่น ทำให้สสารร้อนขึ้น เกิดการเคลื่อนที่  เปลี่ยนสถานะเป็นต้น
พลังงานที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันมีหลายรูปแบบ เช่น  พลังงานกล  พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า  พลังงานแสง  พลังงานเคมี พลังงานนิวเคลียร์  เป็นต้น
หน่วยของพลังงาน   พลังงานมีหน่วยเป็นจูล (J)

พลังงานกล
พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือพร้อมที่จะเคลื่อนที่  แบ่งออกเป็น  2  อย่าง  คือ พลังงานศักย์และพลังงานจลน์
1. พลังงานศักย์โน้มถ่วง(potential energy : Ep ) คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในตัววัตถุหรือสสารที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ยังไม่เกิดการเคลื่อนที่ ถ้าวัตถุอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับพื้นดินขึ้นไป  พลังงานที่สะสมอยู่ในตัวของวัตถุนี้จะเกิดจากแรงดึงดูดของโลกจึงเรียกว่า “พลังงานศักย์โน้มถ่วง
การคำนวณพลังงานศักย์โน้มถ่วงใช้สูตรดังนี้

Ep = mgh

2. พลังงานศัพย์สปริง คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุที่เกิดจากการเปลี่ยนตำแหน่งโดยการ หดหรือยืดออกจากตำแหน่งสมดุล

Ep = (1/2)kx2  = (1/2)Fx

2.  พลังงานจลน์ ( kinetic energy : Ek )  คือ  พลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่
การคำนวณพลังงานจลน์ใช้สูตรดัง

Ek = (1/2)mv2


กฎการอนุรักษ์พลังงาน

กฎการอนุรักษ์พลังงาน (Law of conservation of energy) กล่าวไว้ว่า “พลังงานรวมของวัตถุจะไม่สูญหายไปไหน  แต่สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้”

E = mgh =  (1/2)mv2 =   (1/2) kx2

E1   =  E2

ในกรณีที่มีแรงอื่นมากระทำ                        E1   =  E2+W

เนื้อหาอื่นๆ