การเคลื่อนที่แนวตรง เป็นพื้นฐานของบทกลศาสตร์ที่สำคัญในเรื่องของการเคลื่อนแบบต่างๆ ที่จะได้ศึกษาในระดับต่อไป เนื่องจากการเคลื่อนที่รูปแบบต่างๆได้พิสูจน์และประยุกต์ใช้มาจากการเคลื่อนที่แนวตรงเป็นพื้นฐานก่อนเสมอ ทำให้เรื่องการเคลื่อนที่แนวตรง เป็นหัวข้อที่สำคัญมาก และพื้นฐานที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์ต่อไป
ปริมาณทางฟิสิกส์ มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ
ในหัวข้อการเคลื่อนที่แนวตรงการรู้ชนิดของตัวแปรว่า เป็นปริมาณเวกเตอร์ หรือ สเกลาร์นัั้นสำคัญมากต่อการทำโจทย์
สเกลาร์
เวกเตอร์
ระยะทาง (s) คือ ความยาวตามเส้นทางจริงของวัตถุ มีขนาดเพียงอย่างเดียว มีหน่วยเป็น เมตร (m)
การกระจัด (s) คือ ความยาวเส้นตรงที่ที่เชื่อมระหว่างจุดเริ่มเต้นและจุดสิ้นสุด ต้องคำนึงถึงขนาดและทิศทาง มีหน่วยเป็นเมตร (m)
อัตราเร็ว (v) คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา ไม่จำเป็นต้องบอกทิศทางการเคลื่อนที่ มีหน่วยเป็น (m/s)
ความเร็ว (v) คือ การกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา จำเป็นต้องบอกทิศทางการเคลื่อนที่ มีหน่วยเป็น (m/s)
อัตราเร่ง (a) คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราเร็วในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็น (m/s2)
ความเร่ง (a) คือ การเปลี่ยนแปลงความเร็วในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็น (m/s2)
ตำแหน่ง คือบริเวณที่ตั้งของวัตถุในระบบพิกัดฉาก
v = s/t
v = u + at
s = ut + (1/2)at2
v2 = u2+ 2as
s = ( u + v )t/2
v = u + gt
s = ut + (1/2)gt2
v2 = u2+ 2gs
โดย
s = ระยะกระจัด (m)
u = ความเร็วต้น (m/s)
v = ความเร็วปลาย (m/s)
a = ความเร่ง (m/s2)
t = เวลา (s)
หมายเหตุ : เครื่องหมายของปริมาณเวกเตอร์ทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับทิศอ้างอิงโดยปกติแล้ว มักจะชั้นทิศทาง ของ a และ g เป็นทิศอ้างอิง
การแปลความหมายจากกราฟ ให้พิจารณา 2 กรณี
1. ความชัน (slope)
2. พื้นที่ใต้กราฟ
ความชั้น = v
ความชัน = a
พื้นที่ใต้กราฟ = s
พื้นที่ไต้กราฟ = v
การหาความหมายของกราฟและความสัมพันธ์ของกราฟ
โปรแกรมในการช่วยคำนวณและจำลองผลลัพธ์ของการเคลื่อนที่แนวตรง
โปรแกรมในการช่วยคำนวณและจำลองผลลัพธ์ของการเคลื่อนที่แนวดิ่ง