แบตเตอรี่ ม.5

แบตเตอรี่ ม.5

แบตเตอรี่

เนื้อหาเรื่องแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต่างศักย์ เป็นเนื้อหาที่พูดถึงเรื่อง แบตเตอรี่ ซึ่งถ้าถือเป็นเรื่องหนึ่งที่เราได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และได้เห็นอยู่ในทุกๆวันไม่ว่าจะเป็น ในรถยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ หรือการใช้ Solar cell ซึ่งในบางรูปแบบจำเป็นต้องมีการต่อ แบตเตอรี่ ในการสะสมพลังงาน แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงแค่ แบตเตอรี่ ม.5 ในวิชาฟิสิกส์เพื่อศึกษาเพื่อฐานและทฤษฎีเพียงเท่านั้น เราไปดูกันเลยดีกว่า

นิยามความหมาย ตัวแปร ต่างๆ

แรงเคลื่อนไฟฟ้า (E)  คือ พลังงานที่ถูกถ่ายโอนในแหล่งกำเนิด

ความต่างศักย์ไฟฟ้า (V)  คือ พลังงานของประจุที่เคลื่อนอยู่ในวงจรไฟฟ้า

โดยหาได้จากสมการ 

I = E/(R+r)

และ

V=E-Ir

การต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม

การต่อแบตเตอรี่แบบอนุกรม จะมีสมบัติดังนี้

∑E=E1+E2+E3

∑r=r1+r2+r3

การต่อแบตเตอรี่แบบอนุขนาน

การต่อแบตเตอรี่แบบขนาน จะมีสมบัติดังนี้

∑E=E

∑r=r/n

การต่อแบตเตอรี่แบบผสม

การต่อแบตเตอรี่แบบผสม คือการต่อแบตเตอรี่ ที่มีทั้งแบบอนุกรมและขนานพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่ยาก ต้องระวังในการทำ

I = E/((R/x)+(r/y))

เมื่อ x คือ จำนวนแบตเตอรี่

 y คือ จำนวนของแถวที่ถูกนำมาขนานกัน

ตัวอย่างที่ 1 เมื่อนำแบตเตอรี่สี่ก้อนที่ต่อกันแบบอนุกรมไปต่อกับตัวต้านทานขนาด 5.6 โอห์ม กระแสไฟฟ้าในวงจรจะมีค่าเท่าใด ถ้าแบตเตอรี่แต่ละก้อนมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1.5 โวลต์ และความต้านทานภายใน 0.1 โอห์ม

ตัวอย่างที่ 2 แบตเตอรี่วิทยุเครื่องหนึ่งมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 9 โวลต์ ขณะที่ให้กระแสไฟฟ้า 0.4 แอมแปร์ วัดความต่างศักย์ระหว่างขั้วแบตเตอรี่ได้8.8 โวลต์ ความต้านทานภายในของแบตเตอรี่มีค่าเท่าใด

ตัวอย่างที่ 3 เมื่อนำแบตเตอรี่ที่เหมือนกันสองก้อนมาต่อแบบอนุกรม จะมีกระไฟฟ้า0.25 แอมแปร์ ผ่านตัวต้านทาน 8 โอห์ม ถ้าต่อแบตเตอรี่แบบขนานจะมีกระแสไฟฟ้า 0.16 แอมแปร์ จงหาแรงเคลื่อนไฟฟ้าและความต้านทานภายในของแบตเตอรี่

เป็นไงบ้างกับเรื่องเกี่ยวกับ แบตเตอรี่ ม.5 ในวิชาฟิสิกส์นี้ ถ้ายังไม่เข้าใจหรือต้องการปูพื้นฐานเรื่องไหน สามารถค้นหาได้เลยในบทความอื่นๆ