ประจุไฟฟ้า การเหนี่ยวนำไฟฟ้า

ประจุไฟฟ้า การเหนี่ยวนำไฟฟ้า

ไฟฟ้าสถิต

ในบทความนี้จะกล่าวถึงความรู้พื้นฐานของไฟฟ้าสถิตตั้งแต่ ประจุไฟฟ้า อุปกรณ์ตรวจประจุไฟฟ้า เพื่อให้สามารถทำความรู้พื้นฐานในส่วนนี้ไปประยุกต์กับบทสนามไฟฟ้าได้อย่างดี

ประจุไฟฟ้าและมวลของอนุภาคในอะตอม

ประจุไฟฟ้า (Electric Charge)

มีประจุแยกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ประจุไฟฟ้าบวก ( Positive Charge ) เรียกสั้นๆว่า ประจุบวก (+)
  2. ประจุไฟฟ้าลบ ( Negative Charge ) เรียกสั้นๆว่า ประจุบวก (-)

แรงที่เกิดขึ้นระหว่างประจุ

  1. แรงผลักกัน

จะเกิดมากจากประจุชนิดเดียวกัน

  1. แรงดูด

จะเกิดจากประจุต่างชนิดกัน

การสร้างประจุไฟฟ้าอิสระ

การสร้างประจุไฟฟ้าอิสระ สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 วิธี

1. การขัดถู

อาศัยวัตถุ 2 ชนิด ที่เป็นกลางมาถูกันจนเกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนจากวัตถุหนึ่งไปอีกวัตถุหนึ่งทำให้วัตถุ 2 ชนิดนี้ไม่เป็นกลาง

2. การสัมผัส

อาศัยวัตถุ 2 ชนิด โดยวัตถุชนิดหนึ่งมีประจุอิสระอยู่แล้ว เมื่อเกิดการสัมผัสกับวัตถุที่เป็นกลางทำให้เกิดการถ่ายเทประจุเกิดขึ้น

3. การเหนี่ยวนำไฟฟ้า

คือ อาศัยวัตถุ 2 ชนิด โดยการนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าอยู่แล้วเข้าใกล้ วัตถุที่เป็นกลาง ( แต่ไม่ได้สัมผัส ) จะเกิดการเคลื่อนที่ของประจุเนื่องจากแรงกระทำของประจุ

หมายเหตุ : การเหนี่ยวนำเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้ประจุถ่ายเท

อุปกรณ์ตรวจประจุไฟฟ้า

ในการตรวจสอบประจุไฟฟ้า ในระดับมัธยมจะศึกษาจากอุปกรณ์ 2 ชนิด คือ

  1. อิเล็กโทรสโคปลูกพิท ( pith ball electroscope )

วิธีการใช้งาน
  1. ทำลูกพิทให้เป็นการทางไฟฟ้า จากวิธีการใดก็ได้จะสัมผัสหรือการต่อลงดินก็ได้
  1. นำวัตถุมาทดสอบกับลูกพิท โดยมาวางบริเวณใกล้ลูกพิท
  •  ลูกพิทไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง แสดงว่า วัตถุไม่มีประจุ
  • ลูกพิทเบนเข้าหาวัตถุ แสดงว่า วัตถุมีประจุ (แต่ไม่ทราบชนิดประจุ)

หมายเหตุ : เกิดจากการเหนี่ยวนำไฟฟ้าทำให้ลูกพิทเบนเข้าหา

  • ลูกพิทเบนออกจากวัตถุ แสดงว่าลูกพิท ยังไม่เป็นกลางต้องกลับไปทำข้อที่ 1 ใหม่
  1. ถ้าอยากทราบชนิดประจุของวัตถุ ให้นำประจุที่ทราบชนิดแล้วถ่ายเทให้กับลูกพิท แล้วทดสอบกับวัตถุ
  • ผลักกัน ประจุเดียวกันกับประจุทดสอบที่ทราบ
  • ดูดกัน ประจุต่างกันกับประจุทดสอบที่ทราบ

อิเล็กโทรสโคปแผ่นโลหะ ( leaf electroscope )

วิธีการใช้งาน
  1. ทำให้แผ่นโลหะเป็นกลาง โดยให้แผ่นโลหะหุบติดกัน จากวิธีการใดก็ได้จะสัมผัสหรือการต่อลงดินก็ได้
  1. ทดสอบวัตถุโดยนำมาใกล้ๆจานโลหะ
  •  โลหะกางออก แสดงว่ามีประจุ ( ไม่ทราบชนิด )
  • โลหะไม่กางออก แสงดว่าว่าไม่มีประจุ

3. ทดสอบชนิดของประจุ โดยให้นำประจุที่ทราบชนิดแล้วถ่ายเทให้กับจานโลหะและนำวัตถุ

  • แผ่นโลหะกางมากขึ้น แสดงว่าเป็นประจุชนิดเดียวกันกับโลหะ
  • แผ่นโลหะหุบ แสดงว่าเป็นประจุต่างชนิดกับแผ่นโลหะ