พื้นฐานการแตกแรง
พื้นฐานเรื่อง เวกเตอร์และการแตกแรง
สำหรับเนื้อหาเรื่อง เวกเตอร์ จะอธิบายถึงความหมายของปริมาณทางฟิสิกส์ที่บอกถึงปริมาณเวกเตอร์และสเกลาร์รวมถึงพื้นฐานของปริมาณเวกเตอร์ต่างๆเช่น การหาแรงลัพธ์ แตกแรง ในรูปแบบต่างๆ การรวมแรงเป็นบทพื้นฐานที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์ที่จะต้องนำไปใช้ในวิชาฟิสิกส์ ต่อไปอีกหลายๆบทเพราะฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจเรื่องเวกเตอร์และ แตกแรง กันดีกว่า
ปริมาณทางฟิสิกส์
ปริมาณในทางฟิสิกส์แบ่งเป็นด้วยกันทั้งหมด 2 ปริมาณ คือ
- ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่บอกทั้งขนาด และ ทิศทาง
- ปริมาณสเกลาร์ คือ ปริมาณที่บอกเพียงแค่ขนาดเพียงอย่างเดียว
การหาขนาดและทิศทางของแรงลัพธ์
การหาขนาดและทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบใหญ่ๆเลยคือ
- เวกเตอร์ทิศทางเดียวกัน
- เวกเตอร์ทิศทางตรงกันข้ามกัน
- เวกเตอร์ตั้งฉากกัน
- เวกเตอร์ทำมุมกัน
เวกเตอร์ทิศทางเดียวกัน
การหาเวกเตอร์ลัพธ์ของแรงทิศทางเดียวกันสามารถหาได้ โดยการนำเวกเตอร์ที่มีทิศทางเดียวกันนั้น นำขนาดมาบวกกัน รวมกันเป็นเวกเตอร์ลัพธ์ที่มีทิศทางเหมือนกับทิศทางเดิม
เวกเตอรืทิศทางตรงข้าม
การหาเวกเตอร์ลัพธ์ของแรงทิศทางตรงข้ามกันสามารถหาได้ โดยการนำเวกเตอร์ที่มีทิศทางตรงข้ามกันนั้น นำขนาดมาลบกัน รวมกันเป็นเวกเตอร์ลัพธ์ที่มีทิศทางเหมือนกับทิศทางเดิมที่มีขนาดมากกว่า
การรวมเวกเตอร์ 2 มิติ
ในกรณีที่เวกเตอร์ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกัน หรือ ทิศทางตรงกันข้าม เราสามารถหาเวกเตอร์ลัพธ์โดยการคำนวณได้โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กรณีคือ เวกเตอร์ที่ตั้งฉากกัน กับเวกเตอร์ที่ทำมุมกัน
การรวมเวกเตอร์ 2 มิติ ที่ตั้งฉากกัน
สูตรหาขนาด
R = √P²+Q²
สูตรหามุม
tan θ = Q/P
โดยที่
R คือ เวกเตอร์ลัพธ์
P คือ เวกเตอร์ย่อย
Q คือ เวกเตอร์ย่อย
θ คือ มุมที่เวกเตอร์ลัพธ์กระทำกับแนวราบ
การรวมเวกเตอร์ 2 มิติ ที่ตั้งทำมุมกัน
สูตรหาขนาด
R = √P²+Q²+2PQ cosθ
สูตรหามุม
tan θ = Qsinθ/P+Qcosθ
โดยที่
R คือ เวกเตอร์ลัพธ์
P คือ เวกเตอร์ย่อย
Q คือ เวกเตอร์ย่อย
θ คือ มุมที่เวกเตอร์ย่อย
α คือ มุมที่เวกเตอร์ลัพธ์กระทำกับแนวราบ
แตกแรง
แตกแรงคือการนำเวกเตอร์มาแยกเป็นเวกเตอร์ 2 เวกเตอร์ เพื่อให้สามารถ คำนวณได้ง่ายขึ้นในกรณีที่แรงเราทำมุมแตกต่างกับเวกเตอร์อื่น โดยมีจะมีวิธีการทั้งหมด 2 แบบ คือ
- แตกแรงเป็นเวกเตอร์ทิศตั้งฉากกัน
- แตกแรงเป็นเวกเตอร์ทิศที่ไม่ตั้งฉากกัน
แตกแรงเป็นเวกเตอร์ทิศตั้งฉากกัน
F = Fx + Fy
Fx = F cosθ
Fy = F sinθ
โดยที่
Fx คือ แรงย่อยบนแนวแกน x
Fy คือ แรงย่อยบนแนวแกน y
แตกแรงเป็นเวกเตอร์ทิศที่ไม่ตั้งฉากกัน
Fa = Fsinα / sin(β+α)
Fb = Fsinβ / sin(β+α)
โดย
Fa คือ แรงย่อยบนแนวแกน a
Fb คือ แรงย่อยบนแนวแกน b