เนื้อหา ไฟฟ้า ม.3

เนื้อหา ไฟฟ้า ม.3

ไฟฟ้า ม.3

ในบทความนี้เราจะพูดถึงเนื้อหา  ไฟฟ้า ม.3 ซึ่งถือว่าเป็นไฟฟ้าระดับพื้นฐานเท่านั้น ถ้าอยากเรียนรู้ไฟฟ้าที่ละเอียดขึ้น สามารถเข้าไปศึกษาต่อเพิ่มเติมได้ ซึ่งเนื้อหา ไฟฟ้า นี้เป็นเนื้ออหาที่สนุกเรื่องหนึ่งเลย ไฟฟ้าเป็นเรื่องที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน อาจจะไม่ได้ทันที แต่เป็นเรื่องที่สามารถยกชีวิตจริงขึ้นมาอธิบายได้เลย โดยมีบุคคลสำคัญเรื่องไฟฟ้าอยู่หลายคน เช่น ทอมัส เอดิสัน เป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจหลายๆเรื่องเพราะฉะนั้นเตรียมตัวให้ดีแล้วไปเริ่มกันเลย

ตัวต้านทาน

ตัวต้านทานความหมายก็ตามชื่อเลย ” ต้านทาน ” ถ้าเปรียบไฟฟ้า เหมือนเขื่อน ตัวต้านทานก็เปรียบเสมือนเขื่อน และไฟฟ้าก็เหมือน น้ำ ที่ถูกต้านโดนเขื่อนนั่นเอง อธิบายโดยพื้นฐานหน้าที่ของตัวต้านทานถือต้านทานไม่ให้กระแสไหลผ่าน 

ชนิดของตัวต้านทาน

ตัวต้านทานแบบคงตัว ( Fix Resistor )

คือตัวต้านทานที่มีค่าแน่นอน สามารถระบุค่าของตัวต้านทานนั้นได้อย่างชัดเจน

ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ ( Variable Resistor )

คือตัวต้านทานที่มีค่าไม่แน่นอน ไม่สามารถระบุค่าของตัวต้านทานนั้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถปรับได้ ตามความสามารถของตัวต้านทานตัวนั้น

การอ่านสีตัวต้านทาน

ตัวต้านทานจะมีอยู่ 2 แบบ คือ รูปแบบที่มี 4 แถบ และรูปแบบที่มี 5 แถบ ซึ่งในตัวอย่างนี้จะแสดงถึง การอ่านสีตัวต้านทาน 4 แถบ ดังนี้

การอ่านสีตัวต้านทาน 4 แถบ

แถบที่ 1 แสดงตัวเลขหลัก สิบ

แถบที่ 2 แสดงตัวเลขหลัก หน่วย

แถบที่ 3 แสดงตัวเลข ของสิบยกกำลัง

แถบที่ 4 แสดงตัวเลข คลาดเคลื่อน ± กี่ %

การอ่านสีตัวต้านทาน 5 แถบ

แถบที่ 1 แสดงตัวเลขหลัก ร้อย

แถบที่ 2 แสดงตัวเลขหลัก สิบ

แถบที่ 3 แสดงตัวเลขหลัก หน่วย

แถบที่ 4 แสดงตัวเลข ของสิบยกกำลัง

แถบที่ 5 แสดงตัวเลข คลาดเคลื่อน ± กี่ %

ความหมายของสีบนตัวต้านทาน

ตัวอย่าง เรามาลองอ่านสีตัวต้านทานในรูปกันเถอะ

แถบที่ 1 สีแดงแสดงตัวเลขหลัก สิบ = 2

แถบที่ 2 สีม่วงแสดงตัวเลขหลัก หน่วย = 7

แถบที่ 3 สีน้ำตาลแสดงตัวเลข ของสิบยกกำลัง = 10¹

แถบที่ 4 สีเทาแสดงตัวเลข คลาดเคลื่อน ± กี่ % = ± 10 %

ทำให้เราทราบค่าของตัวต้านทานตัวนี้ เท่ากับ 27 × 10¹ ± 10 %

การต่อตัวต้านทาน

การต่อตัวต้านทานสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม
  2. การต่อตัวต้านทานแบบขนาน

การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม

การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม คือการเอาตัวต้านทานมาต่อกันในลักษณะ หางต่อหัว

โดยสามารถหาความต้านทานรวมได้จากสูตรนี้

Rรวม = R1 + R2 + … + Rn

ตัวอย่าง ข้อนี้จะเป็นการต่อตัวต้านแบบอนุกรม ของตัวต้านทาน แบบ 1 โอห์ม และ 2 โอห์ม

จากสูตร

Rรวม = R1 + R2 + … + Rn

จะได้ว่า

Rรวม = 1 + 2 Ω

= 3 Ω

การต่อตัวต้านทานแบบขนาน

การต่อตัวต้านทานแบบขนานคือการนำตัวต้านทานมาต่อกันเป็นลักษณะหัวต่อหัว หางต่อหาง จะคล้ายกับการทับกันเป็นตึกหลายๆชั้น

ความต้านทานรวมจะได้เป็นตามสมการ

1/Rรวม = 1/R1+ 1/R2 + … + 1/Rn

ตัวอย่าง การต่อตัวต้านทานแบบขนานกัน 2 ตัว ของตัวต้านทาน แบบ 1 โอห์ม และ 2 โอห์ม

ความต้านทานรวมจะได้เป็นตามสมการ

1/Rรวม = 1/R1+ 1/R2 + … + 1/Rn

จะได้ว่า

ความต้านทานรวมจะได้เป็นตามสมการ

1/Rรวม = 1/1+ 1/2 = 2/2 + 1/2

1/Rรวม = 3/2 

 Rรวม ​= 2/3 Ω

กฎของโอห์ม ( Ohm’s Law )

V = IR

โดยที่

V =ความต่างศักย์ไฟฟ้า (V)

 I= กระแสไฟฟ้า (A)

R = ความต้านทานไฟฟ้า (Ω)

ตัวอย่าง จากรูปจงหากระแสไฟฟ้าในวงจรนี้

จากกฎของโอห์ม

V=IR

เราทราบตัวแปร

V = 12 V

R = 3 Ω

จะได้ว่า 12 = I ( 3 ) 

 I = 4 A

กำลังไฟฟ้า ( Power )

คือความสามารถทำงานของไฟฟ้าต่อหน่วยเวลา เป็นหน่วยที่แสดงถึง กำลังที่ออกมาใช้งานได้จริง หาได้จากสูตร

 P = W/t

หรือ

P = VI = V²/R = I²R

การหาค่าไฟฟ้า

การหาค่าไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน สามารถคำนวณได้จากสมการ

Unit = จำนวน W × จำนวนชั่วโฒง / 1000 หน่วยเป็น ( h • unit )

ถ้ามีอุปกรณ์หลายชิ้นให้คิด Unit ของอุปกรณ์แต่ละตัวมาบวกกัน

ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าในบ้านหลังหนึ่ง