พหุนาม ( Polynomial )

พหุนาม ( Polynomial )

เนื้อหา พหุนาม เป็นเนื้อหาโดยสรุปในเรื่องของการหา พจน์ของพหุนาม พหุนามในรูปผลสำเร็จ ดีกรีของพหุนาม ซึ่งจะอาศัยความรู้เรื่องเอกนามเข้ามาประยุกต์ ทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถ้าเกิดใครยังไม่ได้ทบทวนเรื่องเอกนาม สามารถกลับไปทบทวนเรื่องเอกนามก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียนเรื่องนี้กันครับ

เนื้อหาทั้งหมดของ พหุนาม

ดูเนื้อหาพหุนามบน YOUTUBE

พหุนาม ( Polynomial )

คือ ผลบวกหรือลบกันของเอกนามอย่างน้อยหนึ่งตัว

ศัพท์ที่ควรรู้

ศัพท์

ความหมาย

พจน์ของพหุนาม

เอกนามแต่ละตัวที่อยู่ในพหุนาม

พหุนามในรูปผลสำเร็จ

พหุนามที่ไม่สามารถลดรูปได้แล้ว

ดีกรีของพหุนาม

ผลบวกของเลขชี้กำลังเอกนามที่มีเลขชี้กำลังสูงสุดของพหุนามที่เป็นรูปผลสำเร็จ

การบวก/ลบพหุนาม

การบวก/ลบพหุนาม ยังใช้กฎเหล็กข้อเดียวกับเอกนาม คือ

พหุนามจะสามารถบวกหรือลบกันได้ เมื่อตัวแปรเหมือนกัน

การบวกลบพหุนามยังช่วยให้สามารถหาพหุนามในรูปผลสำเร็จได้

ตัวอย่าง

4xy+5x2y-2xy

พหุนามในรูปผลสำเร็จ

ดีกรีของพหุนาม

= (4-2)xy + 5x2y

= 2xy + 5x2y

2+1 = 3

(เอกนามที่มีผลบวกเลขชี้กำลังสูงสุด คือ 5x2y)

ตัวอย่าง

xy2+3x2y-5xy2-x2y

พหุนามในรูปผลสำเร็จ

ดีกรีของพหุนาม

= (1-5)xy2 + (3-1)x2y

= -4xy2 + 2x2y

2+1 = 3

(เอกนามที่มีผลบวกของเลขชี้กำลังสูงสุด คือ -4xy2 และ 2x2y ซึ่งมีค่าเท่ากัน)

ลองทำโจทย์ตัวอย่าง การบวก การลบ พหุนาม ก่อนไหม คลิ้กเลย

การคูณพหุนาม

  • การคูณเอกนามด้วยเอกนาม

เป็นพื้นฐานในการคูณต่อ ๆ ไปหลังจากนั้น โดยหลักการคูณ เอกนามด้วยเอกนาม คือ

ตัวแปรคูณตัวแปร ค่าคงตัวคูณค่าคงตัว

กล่าวคือ ถ้าเจอเอกนาม ให้นำตัวแปรคูณกับตัวแปร ค่าคงตัวคูณกับค่าคงตัว หรือพูดสั้น ๆ ว่าประเภทเดียวกันคูณกัน ถ้ายังแยกตัวแปรกับค่าคงตัวไม่ออกสามารถไปทวนได้ที่หัวข้อแรก และ การคูณตัวแปรจำเป็นต้องใช้ความรู้เรื่องเลขยกกำลัง เพราะฉะนั้นสามารถกลับไปทวนเรื่องเลขยกกำลังได้

ตัวอย่าง

(5y2)(4y)

= (5∙4)(y2∙y)

= 20y3

ตัวอย่าง

(3a2b)(-7b3c)

= (3)(-7) (a2∙b∙b3∙c )

= -21a2b4c

  • การคูณเอกนามด้วยพหุนาม

: การคูณแบบนี้ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติการแจงแจก โดยการกระจายเอกนามเข้าไปคูณในแต่ละพจน์ของพหุนาม

ตัวอย่าง

(5y2)(4y-3x)

=  (5y2)(4y) + (5y2)(-3x) 

=(4∙5)(y2∙y) + (5)∙(-3)(y2∙x)

= 20y3-15xy2

  • การคูณพหุนามด้วยพหุนาม

: การคูณลักษณะนี้ใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติการแจกแจงเช่นกัน แต่ต่างกัน คือ ต้องให้แต่ละพจน์ของพหุนามคูณกันให้ครบทุกตัว

ตัวอย่าง

(5y2+3)(4y-3x)

= (5y2)(4y) + (5y2)(-3x)  + (3)(4y) + (3)(-3x)

=(5∙4)(y2∙y)+ (5)(-3)(y2∙x)+(3∙4)y+(3)(-3)x

= 20y3-15xy2+12y-9x

การหารพหุนาม

  • การหารเอกนามด้วยเอกนาม

: การหารเอกนามใช้หลักการเดียวกับการคูณเลย คือ

ตัวแปรหารตัวแปร ค่าคงตัวหารค่าคงตัว

ในการหารพหุนามยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทวนเรื่องเลขยกกำลัง เพื่อให้เข้าใจและสามารถทำได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

(18a3) ÷ (3a) 

=  (18 ÷ 3 )(a3 ÷ a )

= 6 (a3-1 )

 = 6a2

 

หมายเหตุ : ในการหารตัวแปรต้องใช้สมบัติของเลขยกำลังเข้ามาช่วยในการหาร

  • การหารพหุนามด้วยเอกนาม

การทำรูปแบบนี้ก็ยังมีลักษณะเดียวกันกับ การคูณเอกนามด้วยพหุนาม โดยการหารต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสมบัติการแจงแจก โดยการกระจายเอกนามเข้าไปหารในแต่ละพจน์ของพหุนาม

(18a3+9a) ÷ (3a) 

= [(18a3)÷ (3a)]  + [(9a) ÷ (3a)] 

 = (18 ÷ 3 )(a3 ÷ a ) + (9 ÷ 3 )(a ÷ a )

= 6 (a3-1 ) + 3 (a1-1 )

= 6a2+3

การหารพหุนามด้วยพหุนาม : การหารพหุนามด้วยพหุนามจำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับการหารยาว ซึ่งต้องใช้เวลาจึงจะขออธิบายเป็นอีกบทความหนึ่งในโอกาสต่อไป