สูตรการแยกตัวประกอบ

สูตรการแยกตัวประกอบ

แยกตัวประกอบ

ในหัวข้อ สูตรการแยกตัวประกอบ ที่ได้รวบรวมสูตรไว้นั้น เป็นเพียงสูตรที่ใช้แก้ปัญหาในโจทย์ แต่การท่องจำเพียงสูตรอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ น้อง ๆ จำเป็นต้องทำความเข้าใจและฝึกฝนในการทำโจทย์ สร้างประสบการณ์ในการทำโจทย์ด้วย ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเรื่องการแยกตัวประกอบนี้จะถูกนำไปใช้ในบทการแก้สมการกำลังสองต่อไป

เนื้อหาทั้งหมดของ แยกตัวประกอบพหุนาม

ดูเนื้อหานี้บน Youtube

สรุป สูตรการแยกตัวประกอบ ทั้งหมด

a² – b² = (a + b)(a – b)

(a + b)² = a² + 2ab + b²

(a – b)² = a² – 2ab + b²

a³ + b³ = (a + b)(a² – ab+ b²)

a³ – b³ = (a – b)(a² + ab + b²)

(a + b)³ = a³ + 3a²b + 3ab² + b³

(a – b)³ = a³ – 3a²b+ 3ab² – b³

การฝึกแยกตัวประกอบแบบพื้นฐาน

พื้นฐานการแยกตัวประกอบ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าเป็นพื้นฐานที่ต้องใช้ในอนาคตอย่างแน่นอนเพราะฉะนั้นเราควรแยกตัวประกอบให้ชำนาญและถูกต้องไว้จะดีที่สุดเพื่อจะได้ไม่ต้องจำ สูตรการแยกตัวประกอบ ทั้งหมด

รูปแบบที่ 1

พหุนามอยู่ในรูป x² + bx + c

ในการแยกตัวประกอบรูปแบบนี้ให้ถือหลักการว่า

” บวกกันได้ตัวกลาง คูณกันได้ตัวหลัง “

กล่าวคือ ให้หาตัวเลข 2 ตัวที่สามารถบวกกันแล้วเท่ากับ b และคูณกันได้เท่ากับ c นั่นเอง กำหนดตัวแปร m และ n เป็นค่าคงที่ จะสามารถเขียนในรูปแบบสมการได้ว่า

b = m +

c = m × n

จากนั้นก็จะสามารถแยกตัวประกอบออกมาได้เป็น

x² + bx + c = (x+m)(x+n)

ตัวอย่าง

จงแยกตัวประกอบของ x² + 5x + 6

จากตัวอย่างนี้ ถ้าต้องการแยกตัวประกอบ ในพิจารณาตามหลัก

” บวกกันได้ตัวกลาง คูณกันได้ตัวหลัง “

นั่นก็คือ พิจารณาว่าตัวเลขคู่ใด บวกกันได้เท่ากับ 5 และคูณกันได้เท่ากับ 6 

เริ่มพิจารณาจากการคูณ ตัวเลขที่คูณกันได้เท่ากับ 6 มีด้วยกัน 2 ชุด คือ 

  • 2 × 3
  • 6 × 1

ต่อจากนั้นก็ลองหาผลบวกกันดู

  • 2 + 3 = 5
  • 6 + 1 = 7

แสดงว่าตัวเลขที่สามารถใช้ได้ก็คือ 2 และ

เพราะฉะนั้นสามารถแยกตัวเป็นกอบได้เป็น

x² + 5x + 6 = ( x + 2 )( x + 3 )

รูปแบบที่ 2

พหุนามอยู่ในรูป ax² + bx + c

ในการแยกตัวประกอบรูปแบบนี้ให้ถือหลักการว่า

” ตัวหน้าคูณกันได้ข้างหน้า ใกล้คูณใกล้บวกไกลคูณไกลต้องได้ตรงกลาง ตัวหลังคูณกันต้องได้ข้างหลัง “

กล่าวคือ ในรูปแบบนี้จำเป็นจะต้องหาตัวเลข 4 ตัวที่มีความสัมพันธ์กัน จะขอแยกเป็นชุดข้างหน้า และชุดข้างหลังก่อน

  • ชุดข้างหน้า คือตัวเลข 2 ตัวที่คูณกันแล้วได้เท่ากับ a กำหนดให้เป็นตัวแปร k และ h เป็นค่าคงที่
  • ชุดข้างหลัง คือตัวเลข 2 ตัวที่คูณกันแล้วได้เท่ากับ c กำหนดให้เป็นตัวแปร m และ n เป็นค่าคงที่
  • ความยากอยู่ที่ตัวเลขชุดตรงกลาง ในการแยกตัวประกอบในรูปแบบนี้จะต้องสามารถแยกได้ในรูปแบบ

( kx + m )( hx + n

โดยที่เราต้องกำหนดความสัมพันธ์ของตัวเลขชุดตรงกลางได้ตามหลัก “ใกล้คูณใกล้บวกไกลคูณไกล” นั่นก็คือ ตัวไกล k คูณกับ n บวกกับตัวใกล้ m คูณกับ h ต้องได้เท่ากับ b ซึ่งก็คือตัวกลาง

สรุปความสัมพันธ์ทั้ง 3 หัวข้อได้ดังนี้

การแยกตัวประกอบของ ax² + bx + c จะเท่ากับ ( kx + m )( hx + n) ก็ต่อเมื่อ

a = k × h 

b = ( k × n ) + ( h × m )

c = m × n

 

ตัวอย่าง

จงแยกตัวประกอบของ 5x² + 11x + 2

จากตัวอย่างนี้ ถ้าต้องการแยกตัวประกอบ ในพิจารณาตามหลัก

” ตัวหน้าคูณกันได้ข้างหน้า ใกล้คูณใกล้บวกไกลคูณไกลต้องได้ตรงกลาง ตัวหลังคูณกันต้องได้ข้างหลัง “

นั่นก็คือ เราต้องพิจารณาทั้งหมด 3 ประเด็น ได้แก่ 

  1. ตัวเลขใดบ้างคูณกันได้เท่ากับ 2 
  2. ตัวเลขใดบ้างคูณกันได้เท่ากับ 5 
  3. นำมาจัดเรียง แบบใกล้คูณใกล้บวกไกลคูณไกล ได้เท่ากับ 11

พิจารณาว่า ตัวเลขใดบ้างคูณกันได้เท่ากับ 2 

  • 2 × 1

พิจารณาว่า ตัวเลขใดบ้างคูณกันได้เท่ากับ 5

  • 5 × 1

นำมาจัดเรียง แบบใกล้คูณใกล้บวกไกลคูณไกล ได้เท่ากับ 11

  • ( 5x +2 )( x + 1 )
    • ใกล้คูณใกล้บวกไกลคูณไกล
      (5)(1)+(2)(1) = 7
  • ( 5x + 1 )( x + 2 )
    • ใกล้คูณใกล้บวกไกลคูณไกล
      (5)(2)+(1)(1) = 11

เพราะฉะนั้น การแยกตัวประกอบของ 5x² + 11x + 2 จะเท่ากับ ( 5x + 1 )( x +2 )

การดึงตัวร่วม

การดึงตัวร่วมเป็นพื้นฐานสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ เพราะช่วยในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ได้อย่างมากทั้งในบทนี้และบทอื่น ๆ

รูปแบบที่ 3

พหุนามอยู่ในรูป ab + ac

การแยกตัวประกอบรูปแบบนี้จะใช้สมบัติการแจกแจงเพื่อแยกตัวประกอบ โดยการใช้ตัวประกอบร่วม ( Common factor ) หรือ a ตามรูปของพหุนามข้างต้น

จะได้ ab + ac = a(b + c)

วิธีการก็คือ ลองพิจารณาตัวเลข หรือ ตัวแปร ที่อยู่ระหว่างเครื่องหมาย บวกและลบ ว่ามีตัวเลขหรือตัวแปรใดที่เหมือนกันหรือไม่ ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ทันที ต้องใช้ไหวพริบในการพิจารณาด้วย

เมื่อเจอตัวเลขหรือตัวแปรที่ซ้ำกันแล้ว ให้ดึงออกมาอยู่ในรูปผลคูณถือเป็นการเสร็จสิ้น

ตัวอย่าง

จงดึงตัวร่วมของ 5x + 10

พิจารณาได้ดังนี้

จากโจทย์ถ้าเรามองด้วยตาเปล่า จะไม่เห็นพจน์ที่มีลักษณะเดียวกัน แต่ถ้าเรามองว่า 10 คือผลคูณระหว่าง 5 และ 2 ทำให้เราเห็นได้ว่า มีเลข 5 อยู่ระหว่างผลบวกนั้น ทำให้เราสามารถดึง 5 ออกมาในฐานะตัวประกอบร่วมได้ 

= 5x + (5)(2) = 5(x+2)

จงดึงตัวร่วมของ 12x²+6x

พิจารณาได้ดังนี้

จากโจทย์ถ้าเรามองด้วยตาเปล่า จะเห็นว่าทั้งสองพจน์มีตัวแปร x ที่มีลักษณะเดียวกันเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเรามองว่า 12 คือ ผลคูณระหว่าง 6 และ 2 ทำให้เราเห็นได้ว่า มีเลข 6 อยู่ระหว่างผลบวกนั้น ทำให้เราสามารถดึง 6 และ x ออกมาในฐานะตัวประกอบร่วมได้ 

= (6)(2)(x)(x) + (6)(x)(1) = 6x(2x+1)