สมดุลกล

สมดุลกล

สภาพสมดุล

เนื้อหาในบทนี้จะพูดหลักๆด้วยเรื่องของ สมดุล ซึ่งเป็นบทประยุกต์จากเรื่องกฎการของที่ของนิวตัน ซึ่งเป็นหัวข้อที่สำคัญมากเพราะมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆศาสตร์เลย ในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นในหัวข้อเรื่อง สมดุลกล จะถูกเรียนอย่างจริงจังขึ้นและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงๆ ในหัวข้อนี้ถ้าน้องๆยังไม่ได้เรียนเรื่องกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันขอแนะนำให้กลับไปทบทวนก่อนจะช่วยให้เข้าใจบทนี้ได้ง่ายขึ้น

สภาพสมดุล (Equilibrium)

คือ สภาพที่วัตถุสามารถรักษาสภาพการเคลื่อนที่ให้คงเดิม สมดุลกล ที่เกิดขึ้นในขณะที่วัตถุอยู่ในสภาพนิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว เช่นอยู่นิ่ง คือทั้งไม่มีการเลื่อนตำแหน่งและไม่หมุน หรือเคลื่อนที่ในสภาพเดิม คือ จุดศูนย์กลางมวลเลื่อนด้วยอัตราเร็วคงที่และหมุนรอบแกนผ่านจุดศูนย์กลางมวลด้วยอัตราเร็วเชิงมุมคงที่    ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์สภาพสมดุลของวัตถุ คือ การคงสภาพของวัตถุ แบ่งได้ 2 กรณี คือ

สมดุลสถิต (static equilibrium)

คือ สภาพสมดุลของวัตถุอยู่นิ่ง

สมดุลจลน์ (kinetic equilibrium)

คือ สภาพสมดุลของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว (a=0)

ลักษณะของสมดุล แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

  • สมดุลต่อการเคลื่อนที่ (translation equilibrium) คือการสมดุลที่วัตถุอยู่นิ่ง ๆ หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว

ΣF = 0

  • สมดุลต่อการหมุน (absolute equilibrium) คือ วัตถุมีอัตราการหมุนคงตัวผลรวมของโมเมนต์

ΣM = 0

  • สมดุลสัมบูรณ์ (absolute equilibrium) คือ การสมดุลที่มีทั้งสมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่งและสมดุลต่อการหมุนและเงื่อนไขของสมดุล

ΣF = 0 และ ΣM = 0

โดยที่ 

F คือ แรง หน่วยเป็น N

M คือ โมเมนต์ หน่วยเป็น N•m

สมดุลต่อการเคลื่อนที่

อย่างที่ทราบกันว่าสมดุลต่อการเคลื่อนที่คือการสมดุลที่วัตถุอยู่นิ่ง ๆ หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว เพราะฉะนั้นหลักการคือต้องใช้กฎการเคลื่อนของนิวตันให้เป็นไปตามสมการ

ΣF = 0

 

  • กรณีที่มีแรง 2 แรงกระทำต่อวัตถุ จะมีสมดุลเมื่อ
  1. แรง 2 แรงมีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงข้ามกัน
  2. โมเมนต์รอบจุดใดๆ จะเป็น0 ได้ก็ต่อเมื่อแรงทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกัน
  • กรณีที่มีแรง 3 แรงกระทำ แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
  1. แนวแรงทั้ง 3 ขนานกัน และรวมกันแล้วทั้งหมดเป็น 0
  2. แนวแรงทั้ง 3 ไม่ขนานกัน สภาพสมดุลจะเกิดขึ้นเมื่อ
    • 2.1 แรงทั้ง 3 อยู่บนระนาบเดียวกัน
    • 2.2 แนวแรงทั้ง 3 ต้องพบกันที่จุด ๆ หนึ่ง
    • 2.3 แรงลัพธ์ของแรงทั้ง 3 เป็น 0
    • 2.4 โมเมนต์ลัพธ์ของแรงทั้ง 3 เป็น 0

 

หมายเหตุ : ค่าตรีโกณมิติที่ควรรู้เป็นพื้นฐานในการทำโจทย์ สมดุลกล

ขั้นตอนการแก้โจทย์สมดุลต่อการเคลื่อนที่

1.วาดรูปและเขียนแรงทั้งหมดออกมา

2.แตกแรงทุกแรงเข้าหาแกนอ้างอิง ( แกน x และ แกน y หรือแกนตามลักษณะวัตถุ)

3.รวมแรงตามแนวแกนอ้างอิง ( แกน x และ แกน y หรือแกนตามลักษณะวัตถุ) ต้อง = 0

ΣF = 0

 

สามเหลี่ยมตั้งฉากแทนแรง

R/AB = P/BC = Q/AC

ทฤษฎีลามี

แรง 3 แรง และมุม 3 มุม ที่ทำให้วัตถุมีสมดุลทฤษฎีบทนี้กล่าวไว้ว่า “ถ้ามีแรง 3 แรงกระทำกับวัตถุ แล้วทำให้วัตถุเกิดสมดุลและแรงทั้งสามพบกันที่จุดๆ หนึ่งแล้ว อัตราส่วนของแรงต่อ sin ของมุมที่อยู่ตรงข้ามของแรงและมุมทั้ง 3 คู่จะเท่ากัน

sinα / F1 = sinβ / F2 = sinγ / F3

ถ้าให้โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามีเครื่องหมายเป็นบวก และโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกามีเครื่องหมายเป็นลบ

สรุปได้ว่า วัตถุที่สมดุลต่อการหมุน ผลรวมทางคณิตศาสตร์ของโมเมนต์จะมีค่าเป็น 0

 วัตถุพอดีล้ม  

                           วัตถุพอดีล้มถือได้ว่าเป็นสมดุลของแรงอย่างหนึ่ง 

  1. วัตถุล้มบนพื้นราบ

                                             แนวแรงปฏิกิริยา N  อยู่ที่ขอบฐานพอดี

ΣMa=0

โมเมนต์ทวนเข็ม = โมเมนต์ตามเข็ม

M ทวน = M ตาม

mg × d =F × h

โดยที่

ΣMa คือ ผลรวมของโมเมนต์ที่จุด A

F คือ แรงเสียดทาน

Mg น้ำหนักของวัตถุ

N คือ แรงปฎิกิริยาตั้งฉาก

h,d คือ ระยะห่างตำแหน่งต่างๆ

  1. วัตถุล้มบนพื้นเอียง

น้ำหนัก (mg)  และแรงปฏิกิริยา (N) ผ่านที่ขอบฐานพอดี จากหลักตรีโกณมิติ จะได้

เนื้อหาฟิสิกส์อื่นๆ