สรุปสูตร ลำดับและอนุกรม
ลำดับและอนุกรม
สำหรับในบทลำดับและอนุกรม จะมีหัวข้อหลัก ๆ คือ 1. ลำดับ และ 2. อนุกรม ซึ่งความหมายและการใช้ประโยชน์ในทั้งสองหัวข้อนี้แตกต่างกัน และการใช้งานก็แตกต่างกันด้วย โดยในเรื่อง ลำดับและอนุกรมนี้ เป็นเรื่องที่เป็นพื้นฐานสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับสูง ซึ่งจะได้เรียนต่อได้ในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป เพราะฉะนั้นน้อง ๆ คนไหนที่มีความตั้งใจที่จะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้คณิตศาสตร์เป็นสำคัญ เรื่อง ลำดับและอนุกรม จะเป็นหัวข้อที่น้อง ๆ จะได้เจออย่างแน่นอน อย่าข้ามบทนี้เด็ดขาด!
ดูเนื้อหาทั้งหมดของ ลำดับและอนุกรม
ลำดับ (Sequence)
ลำดับ คือ กลุ่มของตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
- ลำดับเลขคณิต
- ลำดับเรขาคณิต
ซึ่งลำดับเลขคณิตเป็นลำดับที่เกิดจากการบวก แต่ลำดับเรขาคณิตเป็นลำดับที่เกิดจากการคูณ
- ลำดับเลขคณิต คือ ลำดับที่มีผลต่างของพจน์ที่ n+1 กับพจน์ที่ n โดยมีค่าคงที่เป็นผลต่างร่วม (d)
ตัวอย่าง
1, 3, 5, 7, 9 …. มี d = 2
9, 6, 3, 0, …. มี d = -3
- ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีอัตราส่วนของพจน์ที่ n+1 กับพจน์ที่ n โดยมีค่าคงที่เป็นอัตราส่วนร่วม (r)
ตัวอย่าง
3, 6, 12, 24 …. มี r = 2
2, -4, 8, -16 … มี r = -2
- วิธีการหา a ที่พจน์ใดๆ
- ลำดับเลขคณิต : an=a1+(n-1)d
- ลำดับเรขาคณิต : an=a1rn-1
สมบัติของ ซิกม่า ( ∑ ) ที่ควรทราบ
เครื่องหมายซิกม่า เป็นเครื่องหมายผลรวม โดยเลขด้านล่างเครื่องหมายจะบอก ค่าเริ่มต้น เลขด้านบนจะบอกค่าสุดท้าย ซึ่งในเรื่อง ลำดับและอนุกรม จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายซิกม่าในการคำนวณอนุกรมรูปแบบที่ยากเพื่อลดการคิดเลข และง่ายต่อการคำนวณ
อนุกรม
ถ้ายังจำได้ในเรื่องลำดับ คือ ลำดับสามารถแบ่งได้เป็นสองแบบ ได้แก่ ลำดับเลขคณิต และ ลำดับเรขาคณิต อนุกรมก็เช่นกัน สามารถแบ่งได้เป็นอนุกรมเลขคณิต และ อนุกรมเรขาคณิต โดยที่อนุกรม คือ ผลบวกของลำดับนั่นเอง
- ถ้าเป็นผลบวกของลำดับเลขคณิต ก็จะเป็น อนุกรมเลขคณิต
- ถ้าเป็นผลบวกของลำดับเรขาคณิต ก็จะเป็น อนุกรมเรขาคณิต
โดยมีสูตร ดังนี้
ดูเนื้อหา อนุกรม บน YOUTUBE
ผลบวกของอนุกรมอนันต์
ผลบวกของอนุกรมจะสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
- อนุกรมคอนเวอร์เจนต์ หรือ อนุกรมลู่เข้า
- อนุกรมไดเวอร์เจนต์ หรือ อนุกรมลู่ออก
อนุกรมเลขคณิตอนันต์ และอนุกรมเรขาคณิตอนันต์
สุดท้ายนี้ ขอให้น้องโชคดีกับการเรียนในเรื่องนี้ อย่าลืมทบทวน และทำโจทย์เยอะๆด้วยละ เนื่องนี้มีสัดส่วนออกข้อสอบ Pat 1 เยอะ เข้าใจไว้ตั้งแต่ตอนนี้ก็ไม่เสียหาย